ความหมายและความสำคัญของการวัดและประเมินตามสภาพจริง
การวัดและประเมินตามสภาพจริง คือ กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 3
ประการ คือ
1.
วัดครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง (Cognitive
Ability)
วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง (Performance/Practice
Ability)
วัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง (Affective
Characteristics)
2.
วัดได้ตรงความเป็นจริง คือ สิ่งที่วัดได้นั้นเป็นข้อมูล เป็นการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ทั้งความสามารถทางความรู้ ความคิด
ความสามารถในการปฏิบัติและคุณลักษณะทางจิตใจ มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดน้อยที่สุด
ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยความสามารถได้คะแนนสูง ตัดความผิดพลาดที่ผู้มีความสามารถสูงกลับได้คะแนนน้อย
3.
เลือกสรร
คิดค้นเครื่องมือและเทคนิคการวัดผลที่เป็นการวัดพฤติกรรมที่แท้จริงที่แสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียน (Ability to do) ซึ่งอาจได้จากการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน สังเกตจากการปฏิบัติภาระงาน (Tasks) ที่จัดให้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่ผู้สอนจะกำหนด
สังเกตจากร่องรอยหลักฐานผลการปฏิบัติภาระงานของผู้เรียน เป็นต้น
ข้อควรคำนึง
การออกแบบการวัดและประเมินตามสภาพจริง
ควรแปลความหมายของจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่ต้องการจะวัดว่า “การเรียนมีคุณสมบัติตามจุดประสงค์นี้ครบถ้วนจริง
เขาควรมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไรที่ต่างจากพฤติกรรมของผู้ขาดคุณสมบัติตามจุดประสงค์นี้”
การแปลจุดประสงค์การเรียนรู้ออกเป็นภาระงานที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติในกิจกรรม การเรียนการสอนแต่ละคาบ
จะช่วยลดภาระการสร้างแบบวัดแบบประเมินของผู้สอนลงได้ เพราะผู้สอนเพียงแต่จัดระบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน
ตรวจสอบผลงานการฝึกปฏิบัติบันทึกลงระบบระเบียนก็จะช่วยการวัดการประเมินได้
การใช้วิธีกำหนดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก
ให้หมุนเวียนกันทำหน้าที่ประสานงานกลุ่ม
ผสมผสานกับการกำหนดเกณฑ์การวัดการประเมินในแต่ละชิ้นงาน
หรือภาระงานให้ชัดเจน
ผู้สอนจะสามารถให้มีการวัดและการประเมินกันเองในกลุ่มได้
โดยผู้สอนทำหน้าที่ติดตามประเมินการประเมินของผู้เรียนเป็นครั้งคราวจะช่วยทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น