การประเมินผลเป็นกระบวนการในการตัดสินใจทางคุณค่าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง
ๆ
ที่ได้จากการวัดผล การประเมินผลจึงให้ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์หรือมาตรฐานที่ผู้ประเมินใช้
เป็นหลักในการตัดสิน จึงนิยมจำแนกประเภทของการประเมินผลออกเป็น 2
ประเภท คือ
1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Evaluation) เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมเฉพาะของผู้เรียนที่แสดงออก โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับ นักเรียนคนอื่น แต่จะนำผลการวัดที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Standard Criteria) ที่มีอยู่แล้วหรือเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดในการประเมินผลทางการเรียน เกณฑ์จะหมายถึงกลุ่มของพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้ ในแต่ละรายวิชาตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา ในแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย โดยทั่วไป ที่นิยมใช้ได้แก่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ดังนั้นการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ จึงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในชั้นเรียนที่จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตร เพราะเป็นการตัดสินได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด
2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Evaluation) ได้แก่การตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับกลุ่ม ที่ได้รับการประเมินทั้งหมด ในทางการศึกษา ก็คือ การเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนที่ได้รับการทดสอบ กับ ความสามารถของนักเรียนคนอื่น ๆ ที่เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หมายความว่า การประเมินผลแบบ อิงกลุ่มนี้จะใช้คนในกลุ่มหรือคนส่วนใหญ่เป็นหลักในการเปรียบเทียบ ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้สอบวัดต้องเป็นเครื่องมือเดียวกัน เช่น เป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน และการสอบในคราวเดียวกัน
การประเมินผลแบบอิงกลุ่มจึงเป็นการนำผลการวัดมาจัดลำดับตามปริมาณที่ตรวจวัดได้ ลำดับที่ของผู้ถูกประเมินจะแสดงสถานะของบุคคลนั้น เมื่อเทียบกับบุคคลอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการประเมินเพื่อคัดเลือก หรือจัดตำแหน่งผู้เรียน
1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Evaluation) เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมเฉพาะของผู้เรียนที่แสดงออก โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับ นักเรียนคนอื่น แต่จะนำผลการวัดที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Standard Criteria) ที่มีอยู่แล้วหรือเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดในการประเมินผลทางการเรียน เกณฑ์จะหมายถึงกลุ่มของพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้ ในแต่ละรายวิชาตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา ในแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย โดยทั่วไป ที่นิยมใช้ได้แก่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ดังนั้นการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ จึงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในชั้นเรียนที่จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตร เพราะเป็นการตัดสินได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด
2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Evaluation) ได้แก่การตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับกลุ่ม ที่ได้รับการประเมินทั้งหมด ในทางการศึกษา ก็คือ การเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนที่ได้รับการทดสอบ กับ ความสามารถของนักเรียนคนอื่น ๆ ที่เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หมายความว่า การประเมินผลแบบ อิงกลุ่มนี้จะใช้คนในกลุ่มหรือคนส่วนใหญ่เป็นหลักในการเปรียบเทียบ ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้สอบวัดต้องเป็นเครื่องมือเดียวกัน เช่น เป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน และการสอบในคราวเดียวกัน
การประเมินผลแบบอิงกลุ่มจึงเป็นการนำผลการวัดมาจัดลำดับตามปริมาณที่ตรวจวัดได้ ลำดับที่ของผู้ถูกประเมินจะแสดงสถานะของบุคคลนั้น เมื่อเทียบกับบุคคลอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการประเมินเพื่อคัดเลือก หรือจัดตำแหน่งผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น