วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

แบบจำลองการเลือกสื่อ


            แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสื่อมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อแตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไรและพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นำมาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนของกองทัพอากาศ

            แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
            ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน(William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับกับจำแนกจุดประสงค์และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลนได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้ (aiien,1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด

            แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
                แบบจำลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนหลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับความเข้าใจ (สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคาประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค(คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 5 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตำราของเยอร์ลาชและอีลีไดมีการพิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสำหรับครูทุกระดับ ดังภาพประกอบที่ 5

ภาพประกอบที่ 5 แบบจำลองการเรียนการสอน
ที่มา :Frederick G. Knirk, and Kent L. Gustafson, Instructional Technology A Systematic Approach to Education (New York : Holt, Rinehart and Winston,1986), p.170

การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
            ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามรถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัย และวิจัยการเรียนรู้จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงือนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคำถามลึกๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่า ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลการศึกษาการเรียนรู้ คือ การทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
            แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ คือ ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบการสอน การออกแบบการเรียนดารสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย

            ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง

การปฏิบัติเชิงความจำ (recognition practice)
คาร์บูเรเตอร์ตัวไหนทำงานถูกต้อง
เมฆที่เห็นเป็นชนิดที่เรียกว่า นิมบัส (nimbus) หรือ (cumulus)
การแก้ไขในการปฏิบัติ (editing practice)
คาร์บูเรเตอร์นี้ทำงานไม่ถูกต้อง ทำให้ถูกต้อง
เมฆที่เห็นไม่ใช่นิมบัส เป็นเมฆชนิดใด
การปฏิบัติที่ให้ผล (production practice)
ในการติดตั้งคาร์บูเรเตอร์ อย่าลืมต้องติดตั้งโช้ค (choke) ก่อน
จงดูรูปร่างและสีของเมฆ แล้วบอกว่าเป็นเมฆชนิดใด

            ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลงคือ การให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง การรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างทดลองและเน้นไปที่ส่วนของภาระงานที่ต้องการกลั่นกรอง

            การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
            เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ (Mobile technology) จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ (รวม TABLETS) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล เครื่องเล่น MP3 หรือMP4 และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกมากมาย ในที่นี้ขอเรียกว่า สื่อเคลื่อนที่ (Mobile devices) สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้การตอบสนองได้รวดเร็ว มีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดี เช่น ในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ผู้เรียนยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมลหรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย ในบางกรณีผู้เรียนยังมีความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้แม้ว่าจะไม่ได้เข้าชั้นเรียน โดยที่ผู้เรียนสามารถติดตามบทเรียนตามที่ต้องการได้สะดวกจากเว็บไซต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน The STUDIES Model โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิ...