วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้


การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้

             การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจำกัดขอบเขตของเรื่องที่จะนำมาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้องนำมาสอน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนำมาสอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้จริงๆ ของผู้เรียน สื่อการเรียนรู้ที่จำเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

            วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ อจจะแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น กาเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กำหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1)ข้อมูลที่เป็นความรู้ 2) เจตคติ และ 3) ทักษะ ส่วนเดคโค (De Cecco 1968 : 214 – 447 ) แบ่งสาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1) ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3) ความคิดรวบยอดและหลักการ และ 4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ

            การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ควรดำเนินการดังนี้

            ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจำเป็นสูงสุด

            แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย ๆ

            ขอเสนอแนะให้นำโครงสร้างการจำแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน อาทิ การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom’s Taxonomy)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน The STUDIES Model โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิ...