วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน

แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal design for learning : UDL) เกี่ยวข้องกับการ จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกัน ประกอบไปด้วยหลักการ ที่สําคัญ ประการ (Strangeman, Hitchcock, Hall, Meo, & et. al :2006)ได้แก่
1. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อจดจํา โดยการจัดหาวิธีการนําเสนอที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย
2. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ โดยจัดหาวิธีการอธิบายหรือการแสดง ออกด้วยคําพูดที่ ยืดหยุ่นและหลากหลายและการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล โดยการจัดหาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตร

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สิ่งมีชีวิตใกล้ตัวเรา                                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ลักษณะและการจำแนกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น                                 เวลา 6 ชั่วโมง
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด      
สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น  จะมีลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน  ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
          ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้        
ตัวชี้วัด
   ว 1.2  ป.1/1  ระบุลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและนำมาจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอก  เป็นเกณฑ์
   ว 8.1  ป.1/1  ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ   
             ป.1/2  วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเองและของครู
             ป.1/3  ใช้วัสดุ  อุปกรณ์ในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกผลด้วยวิธีง่ายๆ
             ป.1/4  จัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบ และนำเสนอผล
             ป.1/5  แสดงความคิดเห็นในการสำรวจตรวจสอบ
             ป.1/6  บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบ โดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ
             ป.1/7  นำเสนอผลงานด้วยวาจาให้ผู้อื่นเข้าใจ


จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นได้
2. จำแนกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น  โดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ได้

 สาระการเรียนรู้       
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น
2. การจำแนกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น  โดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  
ความสามารถในการคิด
 - ทักษะการคิดวิเคราะห์
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 - กระบวนการทำงานกลุ่ม

 คุณลักษณะอันพึงประสงค์   
1. มุ่งมั่นในการทำงาน
2. มีจิตสาธารณะ


          กิจกรรมการเรียนรู้    
(วิธีสอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์) 
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้  3

ชั่วโมงที่ 1
1. ครูให้นักเรียนร้องเพลง เพลินใจชาวดง  และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ

                                                          เพลง  เพลินใจชาวดง
                                             เพลินใจชาวดง  ล้อมวงกันเฮฮา  ลา  ลา  ลา
                                    เชิญชวนกันมา  เฮฮาชุมนุม  บุม  บุม  บุม
                                    ป่าดงพงไพร  แม้ไกลสุดกันดาร  ลา  ลา  ลา
                                    เรายังชวนกัน  นัดวันมาชุมนุม  บุม  บุม  บุม

2. ให้นักเรียนดูภาพพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ แล้วร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนดให้ ดังนี้
    - จากภาพ  นักเรียนรู้จักสิ่งมีชีวิตเหล่านี้หรือไม่  มีอะไรบ้าง  (ต้นทานตะวัน  ต้นมะม่วง  ผีเสื้อ  ต้นมะพร้าว  ตุ๊กแก  วัว  ต้นกล้วย  กุ้ง)
    - ถ้าจะจำแนกสิ่งมีชีวิตในภาพเป็น  2  กลุ่ม  นักเรียนจะจำแนกได้อย่างไร  (พืช-สัตว์)
    - นักเรียนใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก 


ชั่วโมงที่ 2
1. ให้นักเรียนเล่นเกมปริศนาคำทาย  อะไรเอ่ย
    - ลิงขึ้นต้นไม้  ทำอย่างไร  ให้มันลงมา  (ตัดสระ อิ)
    - กุ้งอะไรเอ่ย  ว่ายน้ำไม่เป็น  (กุ้งแห้ง)
    - อะไรเอ่ย  หลังคาติดอยู่กับตัว  มีหัวผลุบโผล่  (เต่า)
    - ผลไม้อะไรเอ่ย  ที่ไม่รู้จักเย็น  (มะไฟ)
    - อะไรเอ่ย  มีหน้าคล้ายเสือ  แต่ตัวเล็กน่ารัก  (แมว)
2. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1  สิ่งมีชีวิตใกล้ตัว  โดยให้นักเรียนปฏิบัติ ดังนี้
    1) แบ่งกลุ่ม  ให้แต่ละกลุ่มสำรวจสิ่งมีชีวิตบริเวณบ้าน  โรงเรียน  หรือในชุมชนใกล้เคียง
    2) จดบันทึกชื่อสิ่งมีชีวิตที่พบเห็น  และวาดภาพประกอบ
    3) นำผลการสำรวจมาจัดแยกประเภทเป็นพืชและสัตว์  และให้เหตุผลประกอบ
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำใบงานที่ 1.1 ว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้ตัวเรา มีทั้งพืชและสัตว์  ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน The STUDIES Model โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิ...