วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

เทคนิควิธีสอนที่เน้ การเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)


องค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเรียนรู้เชิงรุก 1

เทคนิควิธีสอนที่เน้ การเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)
ความสําคัญสภาพปัญหา/
พันธกิจที่สําคัญที่สุดของสถาบันการศึกษา คือการผลิตบัณฑิตหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้

ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพมีคุณลักษณะตามหลักสูตรกําหนด กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้อง เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2 ).. 2545 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมและยืดหยุ่นโดยการมีส่วนร่วมจาก บุคคล สถาบันหรือชุมชนภายนอก มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่คํานึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญมากต่อความสนใจใฝ่รู้และต่อศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษา เช่นการเปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าวิจัยโดยอิสระในรูปโครงการวิจัยส่วนบุคคล การจัดให้มีชั่วโมงเรียนในภาคปฏิบัติใน ห้องปฏิบัติการรวมทั้งมีการฝึกประสบการณ์ภาคสนามอย่างพอเพียงมีการจัดสัมมนาเป็นต้น

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้มีการพัฒนาระบบและกลไกการ จัดการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการและความถนัดของผู้เรียน ยอมรับความสามารถที่แตกต่าง และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ออกแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การมีทักษะในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้รวมทั้งการสร้าง หรือพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้สอนมีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์และลงมือ ปฏิบัติจร งชี้แนะแหล่งข้อมูลความรู้จัดการเรียนการสอนและอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ในรูปแบบหนึ่ง คือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ร่วมอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
        ความหมายของการเรียนเชิงรุก
        หลักการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
        ลักษณะการเรียนรู้เชิงรุก
        บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน
        กลยุทธ์การสอน


      ความหมายของการเรียนเชิงรุก
การเรียนเชิงรุก(Active Learning) คือการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง(Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมิน ค่า ไม่เพียงแต่ฟังผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ถามคําถาม อภิปรายร่วมกันและลงมือปฏิบัติจร งโดยต้องคํานึงถึง ความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรียนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ผู้เรยนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมี ส่วนร่วมในการสร้างความรู้

องค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเรียนรู้เชิงรุก 2

1. หลักการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2.1  ผู้สอนควรทราบว่าผู้เรียนมีความถนัดที่แตกต่างกันและควรทราบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
2.2  ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในการเรียนให้ผู้เรียนกล้าพูดกล้าตอบและมีความสุขทุกการเรียนรู้


1. ลักษณะของการเรียนเชิงรุก
3.1  เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิดการแก้ปัญหาและการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
3.2  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

3.3      ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบ ของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน
3.4      ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทํางานการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน

3.5      เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า
3.6      ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
3.7      ความรู้เกิดจากประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้และการสรุปทบทวนของผู้เรียน


      บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน 4.1 บทบาทของผู้สอน

         จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการ พัฒนาผู้เรียนและเน้นการนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

         สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

         จัดสภาพการเรียนรู้ให้มีวิธีการสอนที่หลากกิจกรรมการเรียนการสอนที่าาย้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนรู้
         ผู้สอนต้องใจกว้างยอมรับในความสามารถการแสดงออกและความคิดเห็นของผู้เรียน
4.2  บทบาทของผู้เรียน

1.   มีปฏิสัมพันธ์ร่วมมือกับเพื่อนในการสืบค้นหาคําตอบด้วยการร่วมอภิปรายร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้สรุปข้อความรู้และร่วมนําเสนอ
2.   สร้างความรู้และทําความเข้าใจผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อความรู้ที่ได้ด้วย
ตนเอง

องค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเรียนรู้เชิงรุก 3

7. เทคนิค/วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก
การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้ง สามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก การเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ การเรียนเชิงรุกมีวิธีการสอนที่หลากหลายการเลือกใช้วิธีการสอนแบบใดขึ้นอยู่ัับลษณะของเนื้อหาวิชา บุคลิก ของผู้สอน บุคลิกของผู้เรียน รวมทั้งสภาพแวดล้อม จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิตใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุกทั้งรายวิชา เฉพาะบางหัวข้อบางรายวิชาใช้วิธีการสอนแบบการ เรียนเชิงรุกหลากหลายแบบผสมผสานกันบางรายวิชาใช้วิธีการสอนแบบเดียว ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้มี ความคิดเห็นร่วมกันKM ได้พบว่าผู้เรียนมีลักษณะที่เด่นของคณะในด้านของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญพอสรุปได้ ังนี้

1.    การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning เป็นกิจกรรมการสอนที่ผู้สอนนํามาบรูณาการ เป็นที่ เหมาะสมกับกิจกรรมที่ผู้เรยนได้รับประโยชน์สูงสุดเป็นกิจกรรมที่ผู้เรยนเป็นผู้กระทํา(ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง) ด้วยความกระตือรือร้น เช่นได้คิดเป็นกระบวนการและขั้นตอน และได้มีการค้นคว้าทดลองทําโครงการ สัมภาษณ์แก้ปัญหาเองได้ในบางครั้งได้ก็ตามฯลฯและได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทําให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างแท้จริงผู้สอนทําหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คําปรึกษาและสรุปสาระ การเรียนรู้ร่วมกัน

2.    ในรายวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติได้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติได้จริงทําให้เกิดทักษะใน การแสวงหาความรู้เห็นความสําคัญของการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุขเป็นความสุข
3.    ทําให้ผู้เรียนเป็นคนกล้าคิดกล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาเป็นคิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ

ในการคิดมีความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ข้อมูลในการสร้างงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดแสดงออกการเป็นผู้นําและผู้ตามเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตประจําวัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน The STUDIES Model โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิ...