ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ
มาตรฐานและตัวชี้วัด
จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร
และสามารถทำอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) ( เช่น ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง...)
และข้อความที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural
knowledge) ( เช่น ผู้เรียนสามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทำเรื่อง...)
เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
|
![]() |
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
|
![]() |
สภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงบนโลก
ทำให้เกิดพายุ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์
เช่น ภูเขาไฟระเบิด การตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้ของเครื่องยนต์
และการปล่อยแก๊สเรือนกระจก มีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
รูโหว่ของชั้นโอโซนและฝนกรด ภาวะโลกร้อน คือ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น
ภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการละลายของธารน้ำแข็ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้น น้ำท่วม ไฟป่า ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญพันธุ์และทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปรู โหว่โอโซน และฝนกรดมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม |
![]() |
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
|
![]() |
ตัวชี้วัด ว 6.1 ม.1/5 สืบค้น วิเคราะห์
และอธิบายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ม.1/6 สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบายปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซน และฝนกรด ม.1/7 สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบายผลของภาวะโลกร้อน รูโหว่โอโซน และฝนกรด ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จุดประสงค์การเรียนรู้1. บอกปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ 2. อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกได้ 3. ระบุวิธีการที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ |
![]() |
สาระการเรียนรู้
|
![]() |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง1. ภาวะโลกร้อน
2. ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก |
![]() |
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
|
![]() |
ความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ - ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการปฏิบัติ - กระบวนการทำงานกลุ่ม |
![]() |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
|
![]() |
1. วินัย
2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน |
![]() |
กิจกรรมการเรียนรู้
|
![]() |
(วิธีสอนแบบหมวกหกใบ)
ชั่วโมงที่ 1-21. ครูแจ้งให้นักเรียนเข้าใจถึงกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการคิดแบบหมวกหกใบ พร้อมยกตัวอย่างวิธีคิดของหมวกแต่ละใบ 2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยแต่ละคนจะสมมติให้แสดงบทบาทวิธีการคิดแบบหมวก 6 ใบ โดยมีสีต่อไปนี้ คือ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า 3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียน เรื่อง ภาวะโลกร้อน 4. ครูให้นักเรียนชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับ ภาวะเรือนกระจก หรือภาพการเกิดภาวะเรือนกระจก ที่สามารถหาได้จากสื่อต่าง ๆ 5. ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ที่พบในวีดีทัศน์หรือตัวอย่างภาพ เช่น จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 4 ธันวาคม 2532 เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังนี้ “สิ่งแวดล้อมทำให้โลกเราเปลี่ยนไป บางคนเขาบอกว่าฝรั่งมาชี้หน้า แล้วพูดว่า บางกอกนี้จะอยู่ใต้ทะเล ภายในไม่กี่ปีน้ำจะท่วม ความจริงเราก็รู้กันอยู่แล้วว่า กรุงเทพน้ำท่วม แต่เขาบอกว่าน้ำจะท่วมจากทะเล เพราะว่าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เขาบอกว่าเพราะมีสารคาร์บอนในอากาศมากขึ้น จะทำให้เหมือนตู้กระจกครอบแล้วโลกจะร้อน เมื่อโลกร้อนขึ้นมีหวังว่าน้ำแข็งจะละลายลงทะเล และน้ำในทะเลจะเพิ่มขึ้น เพราะสิ่งที่ร้อนมากขึ้น ปริมาตรก็จะมากขึ้น เมื่อน้ำเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ที่ที่ต่ำ เช่น กรุงเทพ ถูกน้ำทะเลท่วม อันนี้เป็นเรื่องเขาว่า ก็เลยสนใจว่าอันนี้เป็นอย่างไร จึงได้ข้อมูลมาว่า สิ่งที่ทำให้คาร์บอนในอากาศเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากเราเผาเชื้อเพลิง และการเผาไหม้ วิธีการแก้ไข คือ เผาให้น้อยลง ปลูกต้นไม้ในมากขึ้น” 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเรื่อง ภาวะเรือนกระจก จากหนังสือเรียน และ บทความพระราชดำรัส 7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย โดยแต่ละคนทำหน้าที่ของหมวกแต่ละใบ หรือครูอาจจะเป็นคนตั้งคำถาม หรือให้ตัวอย่างคำถามแก่ผู้ที่สวมหมวกแต่ละสี เพื่อนำไปอภิปรายในกลุ่ม และให้นักเรียนทุกคนร่วมกันฝึกทักษะการคิดของหมวกแต่ละใบ ดังนี้ หมวกสีขาว แนวคำถาม - นักเรียนมีข้อมูลอะไรบ้าง จากข้อความในพระราชดำรัส - นักเรียนมีวิธีการที่จะหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะเรือนกระจกจากที่ใดได้บ้าง หมวกสีแดง แนวคำถาม - นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับข้อความที่ฝรั่งกล่าวเช่นนั้น - นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมวกสีดำ แนวคำถาม - นักเรียนคิดว่า จุดอ่อนของการดูแลสิ่งแวดล้อม คืออะไร - อะไรคือข้อผิดพลาดในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในอดีต หมวกสีเหลือง แนวคำถาม - ผลดีที่ได้จากการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม คืออะไร - การแก้ไขภาวะเรือนกระจกทำให้สิ่งแวดล้อมดีอย่างไร หมวกสีเขียว แนวคำถาม - นักเรียนมีแนวคิดในการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น - หากแนวการนำเสนอสิ่งที่ต้องแก้ไขดีอยู่แล้ว นักเรียนมีวิธีการอย่างไรให้พัฒนาดียิ่งขึ้น หมวกสีฟ้า แนวคำถาม - ในการแก้ปัญหาภาวะเรือนกระจก ควรมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ชั่วโมงที่ 31. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอวิธีการคิดแก้ปัญหา ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของการทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของหมวกแต่ละใบ เพื่อเป็นการตอกย้ำของวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ 2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและทำใบงานที่ 36.1 ภาวะเรือนกระจก 3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 9 |
![]() |
การวัดผลและประเมินผล
|
![]() |
|||||||||
|
![]() |
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
|
![]() |
สื่อการเรียนรู้1. หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่ม 2
2. ใบงานที่ 36.1 ภาวะโลกร้อน แหล่งการเรียนรู้1. ห้องสมุด 2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ - cpe.kmutt.ac.th/.../การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก_::_ World_temperature_history - www.dekkid.com/science/main_body6.html - upload.neteasyweb.com/view.aspx?ItemID=9cedf1a7.th.wikipedia.org/wiki/ปรากฏการณ์โลกร้อน - www.hi5find.info/การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก_1.html |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น